blogนี้เป็นเกี่ยวกับการศึกษา กรุณาแสดงความคิดโดยใช้คำสุภาพด้วยครับ

วันศุกร์, พฤษภาคม 29, 2552

อินเทอร์เน็ตและประวัติความเป็นมา

อินเทอร์เน็ตคืออะไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือกลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภาย
ใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์
ที่อยู่ในเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษรภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

ประวัติและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือกำเนิดในยุคของสงครามเย็นระหว่างประเทศมหาอำนาจ (สหรัฐอเมริกา) กับรัสเซีย เนื่องจากกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เกิดแนวคิดที่ต้องการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยคอมพิวเตอร์ สามารถสั่งการและทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้คอยควบคุมดูแล หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู หรือขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง อาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนถูกทำลายไปแต่ส่วนที่เหลือจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป้าหมายนี้เองจึงได้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าวขึ้น เรียกว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) และได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเครือข่ายที่มีชื่อว่า “อินเทอร์เน็ต” (Internet) ในปัจจุบัน

แหล่งความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต
- วิกิพีเดีย
- ความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
- google

7 ความคิดเห็น:

  1. แบบฝึกหัด
    เรื่อง อินเทอร์เน็ตและประวัติความเป็นมา
    ชื่อ-สกุล
    เลขที่
    ชั้น
    คำชี้แจ้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

    1. อธิบายเกี่ยวกับคำว่า อินเทอร์เน็ต พอเข้าใจ
    2. หน่วยงานใดเป็นผู้เริ่มต้นใช้อินเทอร์เน็ต
    3. อินเทอร์เน็ตถูกใช้ขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร
    4. โครงการที่วิจัยและพัฒนาระบบชื่ออะไร
    5. อินเทอร์เน็ตสามารถรับส่งข้อมูลอะไรได้บ้าง

    ตอบลบ
  2. ขอบคุนคระ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2553 เวลา 14:12

    ดีเนาะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณคับ

    ตอบลบ
  5. ดี มาก ครับ จาก hnnk

    ตอบลบ
  6. หา ง่ายดี

    ตอบลบ
  7. ดีครับ จะพยายามปรับปรุงเนื้อหาให้ดี

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น